วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์การละครไทย


          ประวัติการละครไทย สัมพันธ์กับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของประเทศ จึงมีการพัฒนาการตามยุคสมัย โดยมีอิทธิพล ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมการติดต่อกับชาวต่างประเทศ จึงท าให้วิถีชีวติขิงคนในแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน ศิลปะการละครไทยจึงมีปรากฏการณ์ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันไป



ประวัติศาสตร์ละครไทย แบ่งตามยุคสมัยได้ดังนี้

สมัยน่านเจ้า การแสดงมีแต่ระบ าปรากฏเป็นหลักฐาน ส่วนการละครไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ในสมัยนี้มีนิทานเรื่อง มโนราห์แพร่หลายในประเทศแถบทุกชาติ เช่น อินเดีย ชาว มลายู ลาว เขมร พม่า และไทย เป็นต้น


สมัยสุโขทัย(พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐) จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามค าแหง กล่าวถึง การขับร้อง ระบำรำ ฟ้อน และการละเล่นพื้นเมือง ไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับละครไทย

สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) มีหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับการละคร โขน ระบำ รำ ฟ้อน และการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น หนังใหญ่ หุ่น การละเล่นขอลหลวง การละเล่นพื้นเมือง ในสมัยอยุธยาสมัยเป็นราชธานี

สมัยธนบุรี(พ.ศ. ๒๓๑๐- ๒๓๒๕) การละครไทยค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการเสียกรุงเก่า บทละครหายไปเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงทำนุบำรุงการละคร โดยพยายามรวบรวมบทละครที่กระจัดกระจายเพื่อน ามาสร้างสรรค์ให้คงอยู่ต่อไป และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ไว้ ๕ ตอน และทรงกำกับการแสดง การฝึกซ้อม โขน ละคร ด้วยพระองค์เอง โดยยึดแบบแผนการแสดงของกรุงเก่า


สมัยรัตนโกสินทร์(พ.ศ.๒๓๒๕-ปัจจุบัน)พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสนับสนุนฟื้นฟูการละครโดยสืบเนื่องกันมาเป็นลำดับ







การละครไทย


ความเป็นมาของละครไทย

ความหมายของละคร หมายถึง การแสดงที่ผูกเป็นเรื่องราว เพื่อความสนุกสนาน บันเทิงใจ เป็นศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยแรงบันดาลใจ ตามธรรมชาติวัฒนธรรม สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชนชั้น แสดงออกเห็นความงดงาม น่าชม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ลักษณะของละครตะวันตกและซีกโลกตะวันออกจะมีความแตกต่างกันตรมหลักปรัชญาศาสนา และความเชื่อ ชนชาติโบราณทุกชาตินอกจากถือว่าการเต้นร าหรือฟ้อนร าเป็นกิจประจ าของทุกคนแล้ว ยังถือเป็นพิธีกรรมทางศาสนา
การแสดงละครในยุคแรกๆ จะจัดการแสดงเพื่อสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้ายอพระเกียรติพระมหากษัตริย์
ยิ่งชนชาติใดมอารยธรรมเก่าแก่ก็จะมีการตำนานเกี่ยวกับการแสดงละคร ในรูปแบบ จารึก
ตำรา คัมภีร์ เป็นต้น

การละครของไทยเราได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย

           ชาวอินเดียเป็ทนชนชาติที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับศาสานา เทวดา นรกสวรรค์เพราะมีความเชื่อว่าพระพรพมเป็นเทพเจ้าองค์แรก ที่เป็นผู้สร้างใจ และทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก พร้อมทั้งสร้างพระเวทขึ้นมา 4 พระเวท คือ
1. ฤคเวท คือ เป็นเวทที่บรรยายเกี่ยวกับการร่ายร า
2. สามเวท คือ เป็นเวทที่บรรยายเกี่ยวกับการขับร้อง
    3. อยุรเวท คือ เป็นเวทที่บรรยายเกี่ยวกับการเลียนแบบ
                      4. อาถรรพเวทเวท คือ เป็นเวทที่บรรยายเกี่ยวกับการแสดงอารมณ์
ต่อมาภายหลังจึงรวมเวททั้ง 4 เข้าด้วยกัน เกิดเป็นเวทที่ 5 เรียกว่า นาฏเวท เป็นการรวมเอาการร่ายร า 
การขับร้อง การเลียนแบบ และการแสดงอารมณ์เข้ามาไว้ด้วยกันนาฏเวทนี้ เกิดขึ้นจาก พระอินทร์ซึ่งเป็นเทพเจ้าของอินเดีย เห็นว่าควรได้มีการรื่นเริง สนุกสนานกันบ้าง จึงกราบทูลขอให้พระพรหมสร้างนาฏเวทขึ้นมา พระพรหมจึงมอบให้ พระวิษณุกรรม จัดสร้างโรงละครขึ้นในสวรรค์ของ
พระองค์ ผู้แสดงเป็นเทพเจ้าและชายาทั้งสิ้นพระอุมาเป็นประธานพระอิศวรทรงฟ้อนร า พระนารายณ์ตีโทน พระอินทร์เป่าขลุ่ย พระลักษมขับร้อง พระพรหมตีฉิ่ง พระภรตฤาษีเป็นผู้ก ากับการแสดง ซึ่งเป็นได้รับสมญานามว่า เป็นเทพเจ้าแห่งการละคร การแสดงครั้งแรกนี้เรียกว่า ปฐมนาฏศิลป์ ตำราที่พร
ะภรตได้รวบรวมขึ้นเรียกว่า นาฏยศาสตร์ความเชื่อเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสิลปะการละครและนาฏศิลป์ไทยมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ ดังเช่น การบูชาบวงสรวงเทพเจ้าในพิธีไหว้ครูครอบครูทางนาฏศิลป์และดนตรี






อ้างอิง:http://www.services.northcm.ac.th/ncucms/UserFiles/File/History%20of%20Thai%20drama_.pdf