ประวัติการละครไทย สัมพันธ์กับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของประเทศ จึงมีการพัฒนาการตามยุคสมัย โดยมีอิทธิพล ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมการติดต่อกับชาวต่างประเทศ จึงท าให้วิถีชีวติขิงคนในแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน ศิลปะการละครไทยจึงมีปรากฏการณ์ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันไป
ประวัติศาสตร์ละครไทย แบ่งตามยุคสมัยได้ดังนี้
สมัยน่านเจ้า การแสดงมีแต่ระบ าปรากฏเป็นหลักฐาน ส่วนการละครไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ในสมัยนี้มีนิทานเรื่อง มโนราห์แพร่หลายในประเทศแถบทุกชาติ เช่น อินเดีย ชาว มลายู ลาว เขมร พม่า และไทย เป็นต้นสมัยสุโขทัย(พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐) จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามค าแหง กล่าวถึง การขับร้อง ระบำรำ ฟ้อน และการละเล่นพื้นเมือง ไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับละครไทย
สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) มีหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับการละคร โขน ระบำ รำ ฟ้อน และการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น หนังใหญ่ หุ่น การละเล่นขอลหลวง การละเล่นพื้นเมือง ในสมัยอยุธยาสมัยเป็นราชธานี
สมัยธนบุรี(พ.ศ. ๒๓๑๐- ๒๓๒๕) การละครไทยค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการเสียกรุงเก่า บทละครหายไปเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงทำนุบำรุงการละคร โดยพยายามรวบรวมบทละครที่กระจัดกระจายเพื่อน ามาสร้างสรรค์ให้คงอยู่ต่อไป และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ไว้ ๕ ตอน และทรงกำกับการแสดง การฝึกซ้อม โขน ละคร ด้วยพระองค์เอง โดยยึดแบบแผนการแสดงของกรุงเก่า
สมัยรัตนโกสินทร์(พ.ศ.๒๓๒๕-ปัจจุบัน)พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสนับสนุนฟื้นฟูการละครโดยสืบเนื่องกันมาเป็นลำดับ